ฤาคนจะเลวเพราะคำคน

ฤาคนจะเลวเพราะคำคน

 เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสนั่งคุยกับเพื่อนที่เป็นคนคอเดียวกัน คือชอบอ่านสามก๊ก โดยทั่วไปเขาบอกคนที่อ่านสามก๊ก จบสามเที่ยว 
คบไม่ได้ “เรา” หมายถึงผมและเพื่อนเลยอ่านซะกว่าสิบเที่ยวแล้ว ก็คงจะพอคบกันได้นะครับ ไม่เข้าตามกติกาที่เขาว่า 

ประเด็นสำคัญที่คุยกันที่ค้างใจมานาน คือ เรื่องราวของตัวละครตัวหนึ่งคือ จิวยี่  ที่ข้องใจ ผมมากคือ ทำไมจิวยี่ ถึงเป็นคนใจแคบ เป็นคนขี้อิจฉา เพื่อนก็เลยแนะนำว่า อย่าไปอ่านแต่ตำราที่เราเรียนกันมา ลองอ่านหลายๆเล่ม 

เพราะเรื่องราวของสามก๊กนั้น มีที่มาหลายแห่ง ทั้งจากบันทึกประวัติศาสตร์ จากบันทึกปากคำของคน จากบทละคร จากนิทานพื้นบ้าน รวมทั้ง แล้วแต่ยุคสมัยที่ผ่านไป ที่สำคัญผู้เขียนเรื่องราวนั้นมีอคติหรือไม่

เมื่อได้รับคำชี้แนะจากท่านเพื่อนเช่นนั้น ใยข้าพเจ้าจักนิ่งเฉย
ว่าแล้วก็หาข้อมูลจากหลายที่หลายแห่ง จนได้ข้อมูลที่น่าตกใจว่า

จากบันทึกหลายแห่ง มีข้อมูลที่ตรงกันว่า 
 - จิวยี่ เป็นชายหนุ่มรูปงาม ขนาดที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่าสุดหล่อ
 - มีภรรยาสุดสวยในยุคนั้นคือ นางเสียวเกี้ยว
 - เมื่ออายุได้ 24 ปี เป็นแม่ทัพ ในก๊กที่เข้มแข็ง 
 - เป็นคนที่มีบุคลิกดี สง่า มีบุคลิกผู้นำ

เอาหละสิ จิวยี่ ที่เรารู้จักกับจิวยี่ที่นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่รู้จัก กลายเป็นคนละภาพกันแล้ว  จากประโยคที่เราคุ้นเคยว่า “ฟ้าให้จิวยี่มาเกิดแล้ว ใยต้องให้จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) มาเกิดด้วย” รวมทั้งหลายเรื่องทำให้เรามองว่า จิวยี่คือ คนขี้อิจฉา ใจแคบ 

ถามว่า ภาพนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นักประวัติศาสตร์???

ตอบได้ชัดว่า ภาพนี้เกิดจากละคร ทำไมว่าอย่างนั้น ก็พวกที่เอาเรื่องนี้ไปเล่นเป็นละคร มักจะจับให้ขงเบ้งเป็นพระเอก และต้องให้เลอเลิศด้วย เลยต้องหาตัวอิจฉามา เลยกลายเป็นจิวยี่ต้องมารับบทนี้เต็มๆ 

ผู้ที่ค้นคว้าเรื่องนี้ เขาบอกว่า แท้จริงแล้วเมื่อศึกษามากเข้า กลายเป็นว่า จิวยี่เป็นคนที่ใจกว้าง มีความภักดี มีสัมมาคารวะ หากย้อนไปดูข้างต้นข้อความ บุคคลที่พร้อมขนาดนั้นจะมีเหตุอะไรต้องให้ไปอิจฉาคนอื่น

เมื่อดูหนังดูละครแล้วก็ย้อนมาดูเหตุการณ์ในบ้านเราบ้าง ก่อนที่ผม
จะรู้จักวัดพระธรรมกาย ผมก็ได้รับข้อมูลข่าวสารของทางวัดจากหลายทาง

แน่นอนครับ มีแต่ข้อมูลลบ สารพัดเรื่อง จนแทบหาความดีไม่เจอ แต่ด้วยความที่เป็นคนขี้สงสัย เหมือนที่ผมสงสัยเรื่องจิวยี่นี่แหละ เลยต้องค้นหาความจริง ผมตั้งโจทย์ว่า วัดโดนข้อหาอะไรบ้าง แล้วก็เข้ามาเจาะหาแต่ละประเด็นๆ ในที่สุด ได้คำตอบทุกประเด็น 

รู้ไหมครับ ประเด็นแรกคืออะไร
เขาบอกวัดนี้ต้อนรับแต่คนรวย  ผมนี่แหละครับ ที่มาวัดแล้วทำบุญแค่สิบบาท เขียนสิบบุญ บุญละบาท คนที่เขียนใบอนุโมทนาบัตรให้ เขาเขียนด้วยความเต็มใจ ก่อนส่งให้ผม เขาก็อนุโมทนาบุญด้วย แล้วรู้ไหมครับ ผมทานข้าวที่วัดมื้อเช้า มื้อกลางวัน บ่าย ๆ ดื่มน้ำหวานของวัดด้วย เกินสิบบาทที่ผมทำบุญซะกี่เท่า 

ประเด็นต่อมา ที่บอกว่าใต้ถุนโบสถ์เก็บอาวุธ ผมก็ลงทุน
สมัครเป็นอาสาสมัคร จนในที่สุดเป็นคนเก็บกุญแจโบสถ์ แล้วก็เลยเจอว่า ใต้ถุนโบสถ์เต็มไปด้วยธรรมาวุธ คือ เสื่อ อาสนะ พรมแดง เอาไว้ปูเวลามีงาน

ผมใช้เวลาพอสมควรในการตอบปัญหาแต่ละประเด็น จนในที่สุดก็กลายเป็นว่า ผมได้พบภาพที่แท้จริงเหมือนที่ผมได้ทราบว่า แท้จริงแล้ว จิวยี่ เป็นคนเช่นไร

 แล้วท่านทั้งหลาย โดยเฉพาะท่านที่มองว่าวัดพระธรรมกายเป็นภัย
ต่อความมั่นคง จะไม่ลองมาค้นคว้าหาข้อมูล เอาข้อแท้จริงบ้างหรือครับ อย่ารับข้อมูลด้านเดียวจากสื่อหรือคนที่ไม่ชอบวัด เพราะหากคนที่มีอคติ ต่อให้ทำดีเท่าไร ก็ผิดในสายตาของเขาอยู่ดี เข้ามาพิสูจน์ด้วยตัวเองเลย จะได้เข้าใจว่าคำพูดของคนที่มีอคตินั้นสามารถพลิกคนดีให้เป็นคนเลวได้  เผื่อท่านจะได้เห็นว่า แท้จริงแล้ว จิวยี่ เป็นหนุ่มรูปงาม ใจกว้าง ไม่ขี้อิจฉาเหมือนคนที่พวกท่านรู้จักหรอกครับ 

เด็กวัดตัวจริง


ฤาสังคมวิปริต

ฤาสังคมวิปริต

เมื่อตอนผมยังเป็นเด็ก ผมจะถูกผู้ใหญ่สอนเสมอว่า พ่อแม่ มีพระคุณอย่างที่ จะนับจะประมาณมิได้ พวกเราคงนึกถึงเพลงที่บอกว่า “จะเอาโลกมาทำปากกา แล้ว เอานภามาแทนกระดาษ เอาน้ำหมดมหาสมุทรแทนหมึกวาด ประกาศพระคุณ ไม่พอ” บทนี้ กันได้นะครับ ฟังแล้ว รู้สึกว่า โอ้โฮ พระคุณพ่อแม่มากมายขนาดนั้น เลยหรือ 

ยิ่งได้มาศึกษาพระพุทธศาสนายิ่งซาบซึ้งหนักเข้าไปอีก เพราะพระบรมศาสดา ตรัสว่า ต่อให้ลูกเอาพ่อแม่ไว้บนบ่า เลี้ยงดูท่าน ป้อนข้าวป้อนน้ำ ให้ท่านถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะจนตลอดชีวิต ก็ไม่สามารถทดแทน พระคุณได้หมด ทำให้ผมไม่แปลกใจเลย ที่คนในยุคก่อนโน้น เขามีความเจริญ รุ่งเรืองในชีวิต เพราะยึดมั่นในคุณธรรม มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

วันก่อนผมได้ไปที่วัดเพื่อร่วมงานบวช เห็นแล้วก็ปลื้มใจ ตั้งแต่ขบวนของ นาคที่เดินเวียนประทักษิณรอบอุโบสถ นาคทุกท่านต่างก็ตั้งใจ สงบนิ่งน่าเลื่อมใส ศรัทธา เมื่อถึงตอนกล่าวคำขอขมาต่อผู้ปกครองก็ดี กล่าวคำขอบรรพชาก็ดี ล้วน เปล่งเสียงออกมาจากใจ เสียงก้องกังวานน่าฟังยิ่งนัก ผมหลับตาฟังไปเรื่อยๆ ด้วย ใจที่ชุ่มเย็น 

จนกระทั่งมาสะดุด เมื่อนาคกล่าวถึงคำขอนิสัย คือ การขออยู่ด้วย ขอให้ พระอุปัชฌาย์ ช่วยอบรมสั่งสอน จนกระทั่งถึงบทที่

อัชชะตัคเคทานิ เถโรมัยหัง ภาโรอะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร

แปลว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พระเถระเป็นภาระของข้าพเจ้า

แม้ข้าพเจ้าก็เป็นภาระของพระเถระ

            คำว่าเป็นภาระตรงนี้ แท้จริงคือ การบอกให้รู้ว่า ความสัมพันธ์ของผู้บวช และอุปัชฌาย์นั้น เป็นประดุจบิดากับบุตร ที่จะต้องรับภาระดูแลกันและกัน

ผมมา นึกถึงว่า พระอุปัชฌาย์นี้ ถ้าจะว่าไป ก็มีพระคุณมากมายเหลือเกิน เพราะเป็นผู้ที่ จะถ่ายทอดทั้งคุณธรรม ความดีงาม ความรู้ที่ท่านมีอยู่ให้กับเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ที่จะทำให้พ้นอบาย คือ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ความจริงผมควรจะมีความปีติใจ อิ่มเอิบใจ ปลื้มใจในบุญที่ได้มีโอกาสมา ร่วมพิธีสำคัญครั้งนี้ 

แต่พอดีมีภาพซ้อนขึ้นมาถึง คนที่ผมเคยรู้จักท่านหนึ่ง ที่ใน อดีตท่านก็เคยเป็นพระภิกษุ  แต่ปัจจุบันนี้ท่านได้สิกขาลาเพศออกไป ซึ่งหากว่า ท่านลาสิกขาไปแล้วไปทำมาหากินโดยสุจริต เอาความรู้ที่มีอยู่ไปทำประโยชน์ให้ สังคมก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร 

แต่นี่กลับนำเอาเครดิตจากการที่ครูบาอาจารย์ส่งเสีย ให้ไปเรียนถึงต่างประเทศกลับมาเป็นหอก ทิ่มแทงครูบาอาจารย์ รวมทั้งพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นพ่อทางธรรมของตนเอง  นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายนัก

สิ่งเหล่านี้หากเกิดในสังคมสมัยก่อน คงเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ ยิ่งหากใครที่เป็น แฟนหนังกำลังภายใน คงจะเข้าใจดีว่า ประเภทศิษย์คิดล้างครูทั้งหลายนี่ ใครเห็น ก็ฆ่าได้เลย เขาถือกันขนาดนั้น 

แต่ ณ วันนี้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วที่เมืองไทยของเรา ศิษย์ที่คิดล้างครู ใส่ร้ายป้ายสีครูบาอาจารย์ พระอุปัชฌาย์ กลับได้รับการยอมรับจาก สังคม และมีคนไปเชียร์ ไปยกย่องเสียด้วยซ้ำ ทำให้ผมเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ฤาสังคมเรามันวิปริตไปได้ถึงขนาดนี้เชียวหรือ

ผมก็ได้แต่หวังว่า สักวันเขาคงจะได้ตระหนักถึงความจริง ตระหนัก ถึงพระคุณของครูบาอาจารย์แล้วยุติพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้น แล้วตั้งหน้าตั้งตา ทำความดีไถ่โทษที่ได้ล่วงเกินครูบาอาจารย์ไว้

คงยังไม่สายเกินไปนะครับ ยุคนี้แผ่นดินมันนุ่มซะด้วยสิครับ

ปรัศนี







จริงหรือว่าพระพุทธศาสนาไม่มีระบบการจัดการ

จริงหรือว่าพระพุทธศาสนาไม่มีระบบการจัดการ

หากคุณเป็นเจ้าของกิจการอะไรสักอย่าง คุณเตรียมจะส่งต่อกิจการ ให้กับ ทายาทของคุณ คำถามคือ คุณจะทำอย่างไร จะปล่อยให้เขาไปลองผิดลองถูกเอง หรือจะสอน จะแนะนำวิธีบริหารกิจการ ผมว่า ถามเด็กๆที่ไหนก็ตอบได้ ใช่ไหมครับ คงไม่ต้องให้ผมเฉลยกระมัง

ในช่วงที่ผ่านมา มีคนสอบถามผมว่า มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องที่พูดๆ กันจากวิทยานิพนธ์ของพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งมีหลายประเด็นที่ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า จริงๆแล้วเป็นอย่างไร ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ข้อที่ว่า คณะสงฆ์ในสมัยพุทธกาลอยู่โดย ไม่มีการจัดการบริหารใด ๆ 

ก่อนที่จะตอบคำถามนั้น ขอคุยกับทุกท่านแบบสบาย ๆ ไม่ต้องอิงวิชาการอะไรมากมายนัก ลองนึกย้อนไปถึงเจ้าชายสิทธัตถะในวัยเยาว์ ท่านจบ 18 ศาสตร์หรือถ้าเทียบปัจจุบัน ก็ต้องบอกว่า 18  ปริญญา   ตั้งแต่ยังเป็น กุมารองค์น้อย 

และอย่าลืมว่า ท่านถูกฝึกเพื่อการเป็นพระราชาในอนาคต ดังนั้นวิชาสำหรับ ผู้ปกครอง มีหรือจะไม่ถูกสอน พอจะนึกภาพกันออกนะครับ นี่เป็นความรู้ทางโลกนะครับ 

แล้วยิ่งพอเจ้าชายสิทธัตถะออกบวช แล้วตรัสรู้ธรรม เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสรู้อะไร นึกต่อกันนะครับ ยามต้นพระองค์บรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ การระลึกชาติในอดีตทั้งของ ตนเองและผู้อื่น พอยามสอง พระองค์ก็บรรลุจุตูปปาตญาณ คือ การเห็นการไปเกิด การดับ ของสัตว์ทั้งหลาย และท้ายสุดในยามสาม พระองค์ก็บรรลุอาสวขยญาณ 

พอจะนึกออกหรือยังครับว่า หนึ่งในการตรัสรู้ธรรม ของพระองค์คือ การระลึกชาติซึ่งเรามักจะเห็นอยู่บ่อย ๆ ว่า เมื่อพระองค์เจอเรื่องราวใด ๆ พระองค์ จะระลึกชาติไปดูว่า เรื่องแบบนี้ในอดีตที่เคยเกิดขึ้น จะแก้ปัญหาอย่างไร ถึงบางอ้อ หรือยังครับว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น พระองค์อาศัยความรู้จาก ทั้งภายนอกคือจากความรู้ที่เพาะบ่มมาตอนเป็นราชกุมาร บวกกับความรู้ภายใน ที่ได้จากการตรัสรู้ธรรม 

ดังนั้นการบริหารงานในการคณะสงฆ์ของพระองค์จึงเป็น ไปด้วยความเรียบร้อย ทำให้สงฆ์มีแต่ความงดงาม เรามามองกันต่อไปครับว่า เมื่อมี กุลบุตรบวชเข้ามาแล้ว พระองค์ทำอย่างไร  พระองค์จะดูอัธยาศัยของแต่ละคน แล้วไม่ใช่ดูธรรมดา บางรายพระองค์ระลึกชาติไปดูด้วยซ้ำว่าคนนี้ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร แล้วให้ความรู้ที่ถูกกับจริตของเขา 

บางรายก็จะส่งไปหาพระรูปนั้น รูปนี้ เช่น ใครชอบทางวิชาการก็ไปหาพระสารีบุตร ใครชอบเรื่องฤทธิ์เรื่องเดช ก็ไปหาพระโมคคัลลานะ ใครชอบปฏิบัติธรรมก็ไปหาองค์โน้น ใครชอบสวดมนต์ ก็ไปหาองค์นั้น อะไรทำนองนี้ และพระองค์ได้ตั้งพระอสีติสาวก หรือพระที่มีความ รู้ความสามารถที่แตกต่างกันออกไปถึง 80 องค์ ซึ่งจริงๆแล้วนั่นคือ การบริหาร การจัดการแบ่งเป็นฝ่ายเป็นแผนกในการเคลื่อนธรรมยาตรานั่นเอง

เอ้า มาดูกันต่อไป ในแง่การจัดการบริหารในการเผยแผ่ยิ่งจะเห็นชัดเจน ว่าพระพุทธองค์ไม่ได้ปล่อยให้ทำอะไรโดยขาดการจัดการหรือหลักการที่ดี เช่น พระอรหันต์ชุดแรกที่พระองค์ส่งออกไปเผยแผ่ พระองค์ก็ให้หลักเลยว่า เธออย่าไปทางเดียวหลายคน แต่เธอจงไปคนเดียวหลายทาง และพอถึงวันสำคัญ คือวันมาฆบูชา ที่เป็นการเผยแผ่อันยิ่งใหญ่ คือ การให้หลักในการเผยแผ่แก่ พระอรหันต์ถึง 1,250  รูป ที่เรียกกันว่าโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งผมคงไม่ลงรายละเอียด ในการเขียนครั้งนี้ เอาเป็นว่า นั่นคือ แนวทางหรือวิถีของชาวพุทธ ที่เป็นอุดมการณ์ หลักการและวิธีการในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธเลยทีเดียว 

แล้วสงสัยไหมครับ ว่าระดับพระอรหันต์แล้ว ทำไมจะต้องมาให้นโยบาย แน่นอนครับว่าทุกรูป ท่านหมดกิเลส แต่วิธีการสอนหากไม่บอก ไม่ให้แนวทาง ก็มีสิทธิ์เอาตาม ความถนัด ดังนั้นจึงให้นโยบาย เป็นการจัดการวางรูปแบบไว้ให้ไปในทิศทาง เดียวกัน

นี่เป็นเพียงแค่บางส่วนที่ต้องการชี้ให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าของเรานั้น พระองค์เป็นยอดนักบริหาร ซึ่งหากไปค้นดูในพระไตรปิฎกอย่างละเอียด ค่อย ๆ ดูไปตั้งแต่พระวินัย จะยิ่งเห็นความเป็นอัจฉริยภาพของพระองค์ แล้วจะรู้เลยว่า ศาสตร์ทุกศาสตร์ที่เราร่ำเรียนกัน ล้วนแล้วแต่อยู่ในพระไตรปิฎกทั้งสิ้น

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผมคงไม่ต้องตอบอีกกระมังครับว่า ในสมัยพุทธกาล มีระบบการจัดการหรือไม่ หากไม่แน่ใจ ขอให้ค่อยๆเข้าไปอ่าน ไปศึกษาด้วยตนเอง แล้วจะยิ่งเกิดความรัก ความเคารพ ความศรัทธาในพระพุทธองค์ยิ่งขึ้นครับ


ปรัศนี          


ธรรมกายมีผลต่อความมั่นคงหรือไม่?

ธรรมกายมีผลต่อความมั่นคงหรือไม่?

ในช่วงวันสองวันที่ผ่านมา มีคำถามว่า “วัดพระธรรมกายเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือไม่” 

เป็นคำถามยอดฮิต และเริ่มกระจายกันไปในวงกว้าง ผมก็เลยต้องหาข้อมูล จากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร หรือข้อมูลจากการเข้าไปสอบถามคนในวัด จากข้อมูลที่ได้มาทำให้ผมพอจะประเมินได้ดังนี้

 ๑. ต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
สำหรับข้อนี้ตอบได้ชัดเจนว่า นอกจากจะไม่เป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา แล้วในทางตรงกันข้าม 

วัดพระธรรมกายกลับจะเป็นปราการอันแข็งแกร่ง ของพระพุทธศาสนา จากการรุกรานอันไม่ชอบธรรมจากต่างศาสนา ที่ไม่ ยึดหลักการเผยแผ่สากล ที่ชอบไปเบียดเบียนศาสนิกของศาสนาอื่น 

โดยใช้การบังคับให้เป็นพวก หากไม่เป็นพวกก็ตาย นอกจากนี้วัดนี้ยังเข้าไป เป็นมือเป็นเท้า สนองงานให้กับการคณะสงฆ์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสิ่งที่วัดได้ทำประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง 

ทั้งการช่วยเหลือ ในภัยพิบัติต่างๆทอดผ้าป่าใน ๔ จังหวัดภาคใต้อย่างต่อเนื่อง มากว่าสิบปี ให้ทุนการศึกษามาอีกนับไม่ถ้วน ที่สำคัญยังเป็นแหล่งผลิต พระภิกษุ สามเณร ให้กับพระพุทธศาสนา 

ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุ สามเณรกว่า ๓,๐๐๐ รูป มีศูนย์สาขาอยู่ทั่วโลก ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ไม่มีทางที่จะเป็นภัยต่อ พระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน

    ๒. ต่อความมั่นคงของประเทศชาติ
 หากมองด้วยสายตาที่เป็นธรรม จะเห็นได้ว่า นอกจากวัดพระธรรมกายจะไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติแล้ว กลับจะทำให้ประเทศชาติมั่นคงด้วยซ้ำ 

เพราะวัดมีโครงการอบรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน เป็นการ
เตรียมคนที่มีคุณธรรมให้กับสังคม หากวันข้างหน้า เรามีคนที่มีคุณภาพ นำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต มาใช้ในที่ทำงาน ในครอบครัว นั่นยิ่งจะเป็นตัวชี้นำถึงความเข้มแข็งของสังคมโดยมหัพภาค

 ๓.ต่อความมั่นคงของผู้ที่มีกิจการที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข
 สำหรับข้อนี้ก็ชัดเจนอีกเช่นเดียวกัน ว่า แน่นอน วัดพระธรรมกาย
คัดค้านการค้าเหล้า เบียร์ บุหรี่ จัดโครงการเทเหล้าเผาบุหรี่ ไปทั่วโลก รวมทั้งการเอานิสิต นักศึกษา มาอบรม ให้เห็นภัยในสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งให้นักศึกษา ใช้เวลาในการปฏิบัติธรรม แทนที่จะไปเข้าผับ เข้าบาร์ จึงเป็นที่เห็นได้ชัดเจน ว่า กระทบกระเทือนความมั่นคง (ทางการเงิน) ของผู้ประกอบการในเรื่องนี้

 บทสรุป
หลายครั้งในประวัติศาสตร์ที่เราสูญเสียสิ่งดี ๆ คนดี ๆไปเพราะขาดข้อมูลที่สมบูรณ์หรืออาจจะด้วยอคติ ทำให้ประเทศชาติต้องล้าหลังหรือหยุดอยู่กับที่ เราจะให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอีกกี่ครั้งจึงจะสำนึก

ขอให้มองวัดพระธรรมกายให้ดี แล้วใช้เขาให้เกิดประโยชน์แทนที่จะมองว่าเขาเป็นภัยดีกว่านะครับ

ปรัศนี




เล่าเรื่องเจดีย์

สงสัยเหลือเกิน เจดีย์วัดพระธรรมกาย เจดีย์หรือจานบิน 

ก่อนอื่นเรามาดูที่มาของเจดีย์กันหน่อยนะคะ

 เล่าเรื่องเจดีย์ 

>> เจดีย์เป็นพุทธสถานอันเป็นศูนย์รวมใจชาวพุทธแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน

จากบันทึกของพระถังซัมจั๋ง ซึ่งได้จาริกไปอินเดียเมื่อ 1,400 ปีที่แล้ว กล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดรูปแบบของเจดีย์ในเบื้องต้น ด้วยการทรงนำจีวร สังฆาฏิ และสบงของพระองค์มาพับเป็นสี่เหลี่ยม แล้ววางซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ จากใหญ่ไปหาเล็ก และทรงคว่ำบาตรของพระองค์วางลงไปบนผ้าอีกทีหนึ่ง แล้วตรัสว่า นี่แหละสถูปเจดีย์ 

รูปแบบเจดีย์ที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ จึงเป็นต้นแบบของการสร้างเจดีย์นับแต่นั้นมา ดังตัวอย่างรูปทรงของสาญจิเจดีย์ เจดีย์เก่าแก่ที่สร้างเมื่อราว 2,200 ปีก่อน ก็มีรูปครึ่งทรงกลมประยุกต์จากรูปทรงบาตรคว่ำนั่นเอง

เจดีย์เก่าแก่ ทรงของสาญจิเจดีย์ ที่สร้างเมื่อราว 2,200 ปี

พัฒนาการของรูปทรงเจดีย์ 

>> เมื่อเวลาผ่านมารูปทรงของเจดีย์ก็มีพัฒนาการมาตามลำดับ
เริ่มจากการใช้ฉัตร 7 ชั้นบ้าง 9 ชั้นบ้าง ประดับอยู่บนยอดเจดีย์เพื่อแสดงความเคารพบูชา แต่เมื่อนานวันเข้า ฉัตรก็ถูกลมพัดเอียงล้มบ้าง ชำรุดทรุดโทรมบ้าง ในบางท้องที่จึงมีการสร้างฉัตรให้เป็นสิ่งปลูกสร้างถาวร กลายเป็นส่วนยอดของเจดีย์รูปทรงระฆังคว่ำคล้ายที่พระปฐมเจดีย์ มหาเจดีย์ชเวดากองของเมียนม่าร์หรือเจดีย์ทรงทิเบต เป็นต้น ในจีนก็มีรูปทรงเจดีย์เป็นทรงตึกซ้อนกัน 5 ชั้นบ้าง 7 ชั้นบ้าง โดยชั้นล่างจะใหญ่ชั้นบนก็จะค่อยๆ เล็กลงตามลำดับ

พระปฐมเจดีย์ มหาเจดีย์ชเวดากองของเมียนม่าร์

เมื่อเวลาผ่านมากว่า 2,000 ปี แต่ละท้องถิ่นก็มีพัฒนาการรูปแบบเจดีย์เป็นเอกลักษณ์ของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงเจดีย์แบบใด สิ่งที่เหมือนกันก็คือ เจดีย์แต่ละแห่งได้เป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธในที่นั้นๆ ถือเป็นองค์แทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มหาธรรมกายเจดีย์

ทรงเจดีย์ได้ย้อนกลับไปสู่ยุคดั้งเดิม ซึ่งเป็นรูปทรงสากล องค์เจดีย์เป็นรูปครึ่งทรงกลมคล้ายสาญจิเจดีย์ และมีเชิงลาดทอดเฉียงลงมาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระ จำนวน 300,000 องค์ เชิงลาดถัดลงมาเป็นที่นั่งของพระภิกษุจำนวน 10,000 รูป ภายในส่วนกลางองค์เจดีย์เป็นที่ประดิษฐานองค์พระอีก 700,000 องค์ รวมกับองค์พระภายนอกเป็นหนึ่งล้านองค์





ประเภทของมหาธรรมกายเจดีย์


       ในครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ตรัสบอกกับพระอานนท์ถึงประเภทของมหาเจดีย์ไว้ว่ามี 4 ประเภท 
มหาธรรมกายเจดีย์เป็นมหาเจดีย์ 3 จาก 4 ประเภท ได้แก่

        ธาตุเจดีย์ ได้แก่ พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมหาธรรมกายเจดีย์ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน

        อุทเทสิกเจดีย์ ได้แก่ พระพุทธรูป ซึ่งมหาธรรมกายเจดีย์มีพระธรรมกายประจำตัวด้านนอก 300,000 องค์ ด้านใน 700,000 องค์ และพระบรมพุทธเจ้าที่ประดิษฐานเป็นองค์ประธานอยู่ภายในส่วนโดมของมหาธรรมกายเจดีย์


       ธรรมเจดีย์ ได้แก่ สถานที่เก็บพระคัมภีร์ พระธรรมคำสอน และพระไตรปิฎก ตลอดจนตำราการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ซึ่งมหาธรรมกายเจดีย์ได้บรรจุพระไตรปิฎก หนังสือ ตำราพระพุทธศาสนา และซีดีรอมวิชาบาลีไว้ในส่วนธรรมรัตนะด้วย

  มหาธรรมกายเจดีย์ ถูกออกแบบมาเพื่อประดิษฐาน องค์พระธรรมกายประจำตัว 1,000,000 องค์ พระพุทธรูปปางขัดสมาธิแต่ละองค์ ที่ประดิษฐานอยู่ ณ มหาธรรมกายเจดีย์ แต่ละองค์มีขนาดกว้าง 15 ซ.ม. สูง 15 ซ.ม. และมีฐานรองรับซึ่งกว้าง 18 ซ.ม.  ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์, ดวงปัญญา และการบรรลุธรรม เพราะเหตุว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมด้วยการเจริญสมาธิภาวนา จิตของพระองค์จึงบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสอาสวะ และสภาวธรรมนี้ จึงแผ่ขยายสู่สรรพสัตว์อันไม่มีประมาณ สันติสุขภายในของแต่ละบุคคลสามารถแผ่ขยายไปได้โดยรอบ สร้างครอบครัวให้มีความสุขขึ้น ทำสังคมให้เปี่ยมสุข และผู้คนปฏิบัติต่อกันด้วยจิตเมตตาปรารถนาดี และมีความเคารพต่อกัน

มหาธรรมกายเจดีย์  ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รวมชาวโลกมาปฏิบัติ
ธรรมร่วมกันได้คราวละ 1 ล้านคนให้เป็นพุทธสถานของชาวพุทธทั่วโลก 

รอบมหาธรรมกายเจดีย์มีลานธรรมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่ราว 400,000 ตารางเมตร ถัดจากลานธรรมออกไปที่ขอบทั้งสี่ด้านล้อมรอบด้วยมหารัตนวิหารคด 2 ชั้น เป็นแนวยาวทอดเป็นรูปขอบของสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 99 เมตร ยาวด้านละ 1,000 เมตร รวมพื้นที่ 2 ชั้นราว 700,000 ตารางเมตร

ในวันมาฆบูชาและวันสำคัญต่างๆ มีชาวพุทธทั่วโลกเดินทางมาปฏิบัติธรรม ณ ลานมหาธรรมกายเจดีย์นับล้านคน ต่างชื่นชมชาวพุทธไทยที่มีจิตศรัทธาสามารถสร้างพุทธสถานที่งดงามเป็นศูนย์รวมใจชาวพุทธทั่วโลกได้ เป็นความภาคภูมิใจของชาวพุทธไทย



** คริสต์ก็มีลานมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในนครรัฐวาติกัน เป็นที่รวมชาวคริสต์ได้คราวละหลายแสนคน

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในนครรัฐวาติกัน

** อิสลามก็มีเมกกะ ในซาอุดิอาระเบียเป็นที่รวมชาวมุสลิมได้นับล้านคน

อิสลามก็มีเมกกะ ในซาอุดิอาระเบีย

**ชาวพุทธก็น่าจะมีสถานที่สักแห่งหนึ่งที่รวมชาวพุทธได้คราวละนับล้านคนเหมือนกัน

 มหาธรรมกายเจดีย์ จึงเป็นสถานที่รวมใจของชาวพุทธทั่วทั้งโลก

** แต่พุทธสถานภายนอก แม้จะใหญ่โตเพียงใด ก็ยังเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น

อย่างไรก็ตามเจดีย์ทุกรูปทรง ล้วนเป็นองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราชาวพุทธควรสักการะบูชา ถ้าเราได้ไปต่างประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น เมียนม่าร์ ทิเบต จีน เกาหลี เมื่อพบองค์เจดีย์ก็ควรเคารพบูชา จะเป็นสิริมงคลแก่ตน

ผู้ที่ลบหลู่และกล่าวล้อเลียนองค์เจดีย์ก็เหมือนลบหลู่พระพุทธเจ้า เป็นการสร้างกรรมหนักน่ากลัวยิ่งนัก เราจึงไม่ควรคึกคะนองกล่าวคำดูหมิ่นเหยียดหยามองค์เจดีย์ ไม่ว่ารูปแบบใดทั้งสิ้น

“ ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
บาปส่งผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น ” ___ ( พุทธพจน์ )

ที่มา เพจ พุทธสามัคคี  และ www.dmc.tv

"จดหมายน้อย" ไม่น้อยดังชื่อ.

"จดหมายน้อย" ไม่น้อยดังชื่อ.

แรง!! ใกล้ความจริงไปทุกที ความจริงเป็นอยากไร เปิดเผยทีเถิด

"จดหมายน้อย" ไม่น้อยดังชื่อ.
......
จากโพสต์โชว์ต้นฉบับ "จดหมายน้อย"
ที่มี "พระมหาเถระระดับสูง ต่างนิกาย"
ส่งและต่อตรงถึงกรุงเบอร์ลินที่ผ่านมานั้น
ปรากฏว่าโพสต์นี้ ได้กลายเป็นแรงสั่นสะเทือนใหญ่หลวงตามมาแบบคาดไม่ถึง
ณ วินาทีนี้ "จดหมายน้อย" ไม่น้อยดังชื่อเสียแล้ว
เพราะกำลังจะกลายเป็น "อัฟเตอร์ช๊อค"
สวิงย้อนกลับไปทะลายฝันกลางแดด ของแก๊งค์ชั่วที่บังอาจคิด
"ทำงานใหญ่ เกินตัว เกินบารมีตน" ชนิดไม่เกรงกลัวบาปกรรมใดๆ อย่างน่าเวทนา
ทั้งยังกำลังจะย้อนกลับไปยังจุดต้นเหตุแห่งปัญหา
ต้นเหตุแห่งการวางแผนนำเอาของสูงนี้
มากล่าวอ้างเล่นเกมส์ป่วนเมือง
จนจะกลายเป็นเชือกพันคอตนเองแน่นเข้าทุกวัน
น่าติดตามครับ.
.....
ที่แปลกใจนิดหน่อย ก็คือ
"ตัวละครสำคัญ" เรื่องนี้
ไหงกลับกลายเป็น "สตรี" 
ไปเสียได้
เอ๊ะ....เป็นยังไงกัน
จากวัด - พระ มาเป็นสตรี - บุรุษ สุดท้ายเป็นแก๊งค์ ผสม
ชั่งพิลึกแท้.
....
วันนี้ 10.02.2016 ไม่กี่ ชม. ที่ผ่านมา
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหว
มีการต่อสายของสตรีท่านนี้
นั่นหมายความว่า
มีสัญญาณว่า คนทำลิขิตเริ่มร้อนตัว เพราะเกรงเรื่องจะเข้าหาตัว
และคนที่อยู่เบื้องหลังการใช้พระลิขิตนำมาเป็นเกมส์เริ่มมองเห็นภัยสู่ตน
จึงขยับพยายามต่อสาย ให้หาทางยุติเรื่องนี้.
นี่เป็นข่าวล่าสุดครับ.
....
คลำทางในถ้ำมืดจะเจออะไรละง่าย ๆ ละครับ
เมื่อมีคนยื่นเทียนยื่นแสงสว่างให้
ก็รับไปสิครับ จะคิดอะไรมาก
ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่
การกลับตัวกลับใจมุ่งสัมมา
เพียงแค่วินาทีเดียวก็มีผลครับ
ผมชี้ทางสว่างให้แล้วนะครับ
เข้มทุกวินาทีเลยครับงานนี้.
โชคดีมีชัยทุกท่านครับ
เจ้าคุณเบอร์ลิน
10.02.2016

รูปภาพของ เจ้าคุณเบอร์ลิน

เจ้าคุณเบอร์ลินโชว์ต้นฉบับ "จดหมายน้อย"

ความจริงใกล้เปิดเผยแล้ว

เจ้าคุณเบอร์ลินโชว์ต้นฉบับ "จดหมายน้อย" : กรณีธัมมชโย / พร้อมเรียกร้องฝ่ายเกี่ยวข้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ.
..........
ย้ำอีกครั้งนะครับว่า..
การออกมาแจงสังคมของเจ้าคุณเบอร์ลิน ตั้งแต่อดีต - ปัจจุบัน - อนาคต
ยืนยันว่าล้วนด้วยกุศลเจตนา ไม่มีสิ่งใดแอบแฝงทั้งสิ้น คือ
1. เพื่อปกป้องภัยพระศาสนา และ มส.
2. เพื่อบูชา และรักพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร อดีตประมุขสงฆ์
3. เพื่อความกระจ่างแก่สังคม
4. เพื่อชี้แนวทาง และร่วมแก้ปัญหา.
เกรงพวกมั่วจะโยงไปสู่ประเด็นอื่นครับ จึงขอย้ำอีกรอบ.
.....
ที่มาของ "จดหมายน้อย"
- จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ แต่ผมว่าคงเป็นเพราะบุญพระศาสนานะแหละครับ
ปรากฏว่าเมื่อ 2 วันก่อนผมได้รับการติดต่อจาก
"พระผู้ใหญ่ระดับสูงจากไทยรูปหนึ่ง"
ท่านได้เมตตาชี้แจงเรื่องนี้โดยละเอียดแก่ผม
ทั้งยังเป็นพระมหาเถระที่เป็น
"ธรรมยุตนิกาย" อีกด้วย
ท่านคงเกินทนกับพฤติกรรมของพวกแอบอ้างองค์อดีตสมเด็จญาณเต็มทีละครับ
จึงอยู่นิ่งไม่ได้
พร้อมทั้งมอบส่วนหนึ่งของ "จดหมายน้อย"
ที่เป็นต้นฉบับ ที่ มส. เรียกเป็นทางการว่า "พระดำริ" กรณีธัมมชโย ที่กำลังมั่วถั่วกันอยู่นี้
อีก 1 ชุดแก่ผมอีกด้วย
ซึ่งเป็นเอกสารชุดที่ไม่เคยปรากฏในที่ใดมาก่อน เพราะนี่เป็น "ต้นฉบับ" ที่ใช้ประชุม มส. ในครั้งนั้น.
- ท่านกำชับกับผมว่า ขอให้ใช้สติปัญญา พิจารณานำออกมาเผยแพร่
ให้ทำความเข้าใจแก่สังคม และหาทางช่วยกัน คลี่คลายปัญหาสงฆ์ในขณะนี้
ที่สำคัญเพื่อป้องกันกลุ่มคนที่จะเอาเรื่องนี้
ไปแอบอ้างหาผลประโยชน์ ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
ก่อนจบ ท่านยังเมตตาว่า " หากต้องการเอกสารอะไรเพิ่มให้แจ้งมา".
สาธุ ผมมีกำลังใจเพิ่มเยอะเลย.
.......
วันนี้ ผมจะเผยแพร่ และเจาะลึกในเอกสาร "ต้นฉบับ"
ที่เรียกว่า "จดหมายน้อย" นี้ จำนวน 5 ฉบับ ไปเลยนะครับ
สื่อท่านใด จะเอาไปขยายก็จะเป็นกุศลด้วยกันครับ.
....
เริ่มเรื่อง
ดังที่ผมเคยบอกไว้ การจะแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้น
ขั้นแรกจะต้องเริ่มที่ต้นเหตุ หาต้นเหตุให้ได้เสียก่อน
ไม่เช่นนั้น ก็ออกทะเลดังที่เห็นนี้แหละครับ.
......
ตามมาติด ๆ นะครับ
ผมจะนำไปชี้ต้นตอของปัญหา สารพัดชื่อที่จะเรียก ทั้ง พระวินิจฉัย พระดำริ พระลิขิต
จนชาวบ้านชาวเมืองมึนไปหมด...
1. ทำไมเรียกว่า "จดหมายน้อย"
ตรงนี้ไม่ยากครับ กรรมการ มส. สมัยประชุมที่ตำหนักเพชร วัดบวร รู้แจ้งทุกรูปคำนี้
หรือหากใครทำงานอยู่ "กรมศาสนา" ที่ทำหน้าที่ เลขา มส. ยุคนั่น ก็จะไม่สงสัย
เพราะนี่คือคำที่ใช้เรียกแบบ
"รู้กันในใจกันดีว่า สิ่งนี้ มันมาจากไหน มาจากใคร มายังไง"
คน (ไม่อยากเรียกว่าพระ) ก็ยังคงมีชีวิตอยู่ ก็ตัวแสบคนเดียวนะแหละครับ
ที่มักจะถือมาส่งที่ประชุม มส. หรือยื่นให้ จนท. ในสมัยนั้นเนือง ๆ.
(ผมจะไม่ขยายนะครับ).
........
2. เอกสารที่ออกมาในครั้งนี้นั้น ผมได้สืบค้นในเอกสารของกรมการศาสนายุคนั้น
ปรากฏชัดเจนในสาระบบราชการเรียกว่า
"พระอักษร"
ชัดอีกประเด็นหนึ่ง ในกรณีผลของการลำดับ ในการปฏิบัติตามต่อจากนั้น.
.........
3. ผมจะเล่า และลำดับเหตุการณ์ขณะนั้นให้ฟังครับ
เผื่อจะได้เห็นภาพอะไรต่ออะไรชัดเจนขึ้น
- ครั้งนั้น ผมไม่ได้เข้าร่วมประชุมหรอกครับ เพราะเด็กอยู่
แต่ทุกครั้งที่หลวงพ่อผมกลับจากประชุม มส.
ท่านกลับมาถึงกุฏิคณะ 5 ท่านก็จะมานั่งดื่มน้ำชาสักพัก พอหายเหนื่อย
ท่านก็จะเล่าว่า วันนี้มีอะไรบ้างที่ประชุม ผมก็จะจำจะจดตลอดครับ
ขนาดคราวหนึ่ง สมเด็จญาณท่านเดินสดุดอาสนะที่นั่ง แล้วพลิกขึ้นเห็นไมค์ลอยตัวเล็ก ๆ สอดไว้ใต้อาสนะ เพื่อดักฟังการประชุม มส. ผมยังรู้เรื่องเลย
คนพาลนี่มันร้ายจริง ๆ ครับ.
......
ต่อครับ (พิจารณาเอกสารที่แนบด้วยนะครับ)
....
4.. ที่อ้างกันว่า เป็นพระลิขิต 5 ฉบับนั้น
กรมการศาสนายุคนั้นเขาใช้คำว่า "พระอักษร" ครับ
ในฉบับแรกที่ออกมา

 ให้สังเกต หัวกระดาษมีตราสัญลักษณ์ ญสส
แต่ท้ายพระอักษรไม่ปรากฏมีลายเซ็นขององค์สมเด็จท่าน
โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้น
มีเจ้าคุณชั้นราช วัดบวร (ยังมีชีวิตอยู่)
ได้เดินถือเข้ามาในที่ประชุมมหาเถรสมาคมที่ตำหนักเพชร
เพื่อให้เจ้าหน้าที่แจกกรรมการ มส.
แต่มีการทักท้วงกันว่า
ทำไมพระอักษรไม่มีลายเซ็นพระนามสมเด็จพระสังฆราช
ระวังจะทำให้เกิดความเสียหายแก่พระองค์ท่าน
สุดท้ายจึงมีการขอถอนพระอักษรฉบับนี้กลับไป
แต่ถึงอย่างนั้น พระอักษรฉบับนี้ ก็มีการถูกนำไปขยายผลภายหลังอีก.
.....
5. เมื่อมีการถอนพระอักษรฉบับที่ไม่มีลายเซ็นกลับไป
ต่อมา จึงมีฉบับใหม่ (ฉบับที่ 2) ที่มีลายเซ็นตามมาอีก
แต่มีข้อสังเกตว่า

ในบรรทัดแรกของพระอักษรฉบับที่ 1 กับฉบับที่ 2 มีความต่างกัน
ต่างกันตรงคำว่า "เป็น"
อยู่คนละบรรทัด แสดงให้เห็นว่า น่าจะจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ และเกิดจากการอย่างรีบเร่งจนไม่ได้ตรวจทาน (ผิดวิสัยการทำงานที่เป็นปกติทั่วไป) หรือไม่.
......
6. หลังจากนั้น ก็มีฉบับที่ 3 ตามมา โดยมีข้อความข้างต้นซ้ำกับฉบับเดิม
แต่เพิ่มข้อความใหม่เข้ามาอีก


ฉบับนี้ไม่ได้ไปที่ประชุมของมหาเถรสมาคม
แต่กลับถูกส่งไปที่กรมการศาสนา
โดยให้เหตุผลว่า มส. เลื่อนการประชุม
จึงนำส่งกรมการศาสนาแทน
โดยกรมการศาสนานำไปมอบให้เจ้าคณะภาค 1 เลย ไม่ได้นำเข้าแจ้ง มส.
ฉะนั้น มส. จึงไม่ทราบ/ไม่เห็นฉบับนี้.
....
7. ส่วนฉบับที่ 4 เป็นฉบับที่ปรากฏว่าถูกนำไปแจกเผยแพร่กันทางสื่อมวลชน
หลังเริ่มมีการรายงาน และทักท้วงกันมากขึ้น

มีการแฟ็กซ์ไปตามหนังสือพิมพ์ ซึ่งฉบับนี้ ก็ไม่มีลายเซ็นเช่นกัน
จึงไม่มีเจ้าหน้าที่ หรือ มส. รูปใดเห็นฉบับจริง นอกจากการรายงานทางสื่อมวลชนเท่านั้น.
...
8. ต่อมา เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ถึงพระอักษรที่ไม่มีลายเซ็นพระนามสมเด็จพระสังฆราช แต่มีการใช้ตราหัวกระดาษ ญสส. ออกมาใช้
เกรงจะมีการแอบอ้างพระอักษรของพระองค์ท่านหรือไม่
จากนั้น จึงมีฉบับที่ 5 ออกมา

ครั้งนั้น ในที่ประชุม มส. ทั้งฝ่ายธรรมยุติ และมหานิกาย
จึงได้ทำ "สัญญัติ" ร่วมกันว่า
จะไม่พูดเรื่องนี้ ไม่ถามถึงที่มาที่ไปว่า เป็นพระอักษรจริงหรือไม่ อย่างไร อีก
เพื่อรักษาพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราชร่วมกัน.
.....
9. (แทรกเพื่อความต่อเนื่อง)
- ส่วนพระอักษรฉบับที่ส่งมา เพื่อขอให้เจ้าคุณชั้นราช แห่งวัดบวร
เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมนั้น
เมื่อเรื่องได้มาถึงที่ประชุม
แต่ยังไม่ได้เข้าสู่วาระการประชุม มส.
ทางฝ่ายธรรมยุติถกกันอย่างกว้างขวาง ว่า จะทำอย่างไรดีกับพระอักษรฉบับนี้
เพราะหากจะไม่ปฏิบัติตาม ก็จะเป็นการไม่บังควร
ครั้นจะปฏิบัติตาม ก็ยิ่งจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช
ซ้ำประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทยก็จะจารึกไว้ ว่า เป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง
- จึงให้มีการตรวจสอบข้อมูลว่า เคยมีเจ้าคุณชั้นราชเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมบ้างหรือไม่ ปรากฏว่า ไม่เคยมี
เรื่องการขอเจ้าคุณชั้นราช ให้เป็นกรรมการ มส. นี้ เป็นปัญหามาก เพราะจะเป็นการสร้างมลทินให้การปกครองคณะสงฆ์
จึงหาข้อยุติไม่ได้สักที
ในที่สุดจึงมีการตกลงกันว่า
"ขอถอนพระอักษรฉบับนี้คืน"
พร้อมกับให้เรียกเก็บเอกสารทั้งหมดจากกรรมการ มส. ทุกรูป.
- จากพระอักษรฉบับนี้
เป็นไปไม่ได้ที่สมเด็จพระสังฆราช จะไม่ทรงทราบว่า พระราชาคณะชั้นราชเป็นกรรมการ มส ไม่ได้ โดยต้องเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ขึ้นไป
ซึ่งเป็นการขัดธรรมเนียมปฏิบัติของคณะสงฆ์.
.......
สรุปว่า
- ทั้งหลายทั้งปวงที่ผมได้พยายามแจงมาข้างต้นทั้ง 9 ข้อนั้น
ก็แสดงว่า งานนี้น่าจะมีความไม่ปกติเกิดขึ้น
น่าจะมีคณะบุคคลดำเนินการโดยพลการหรือไม่
โดยไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติของคณะสงฆ์ ที่ยึดทั้งพระธรรมวินัย และกฏหมายสงฆ์
แล้วคนที่กำรายละเอียดหมดทุกอย่างยิ่งกว่าผม
ประเทศไทยมีคนเดียว คือ ดร. วิษณุ ของผมนะแหละครับ
ส่วนแกจะพูดหรือเปล่านั่นอีกเรื่อง
ดังนั้น หากจะคลี่คลาย และยุติปัญหาที่บายปลายจนจะเผาประเทศอยู่แล้วนี้กันจริง ๆ
ก็ขอให้ผู้เกี่ยวข้อง หรือ DSI ที่ขยันแต่เรื่องของพระนี่
ได้ไปตรวจสอบ สืบสวนเชิงลึก
ดูว่า
ใครทำ ทำกี่คน มีจุดประสงค์อะไรแฝง
อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ดีดที่ใช้ยังอยู่ไหม
เอกสารพระอักษรฉบับจริงอยู่ที่ไหน
จะต้องเอามาเคียบเคียงกับฉบับที่เผยแพร่ ว่ามีข้อความตรงกันหรือไม่ อย่างไร
ตรงนี้อย่าทำเป็นเล่นไปนะครับ
เพราะหากมีผู้ยื่นเรื่อง และพิสูจน์ภายหลัง
แล้วมีผลตรงข้ามกับเหยื่อที่ท่านทั้งหลายหลงเคี้ยวอยู่ขณะนี้
คนที่เลี้ยงไม่โตน่าจะเป็นสุดเท่ คือ DSI ก็ได้นะครับ
ร่วมกันแก้ไขจริง ๆ สักทีเถอะครับ
เรื่องจะได้จบ ๆ สังคมจะได้หมดความสงสัยกันเสียที
ถ้าระดับ DSI ทำเรื่องแค่นี้ไม่ได้ ผมคงไม่มีอะไรแนะนำแล้วครับ
เดียวจะหาว่าให้ร้ายกันอีก.
....
ส่วนพวกแก๊งค์ที่ไม่เกรงกลัวบาปนั้น เมื่อมาอ่านเจอตรงนี้แล้ว
จะปล่อยให้เบ็ดติดคออยู่อย่างนั้นก็ตามสบายครับผม
แจ่มแจ้งแดงแจ๋มัยครับ.
โชคดีมีชัยทุกท่านครับ
เจ้าคุณเบอร์ลิน
09.02.2016




DSI ไม่ตั้งธงแกล้งใคร ตามใบสั่ง?

DSI ไม่ตั้งธงแกล้งใคร ตามใบสั่ง?

DSI ไม่ตั้งธงแกล้งใคร ตามใบสั่ง?

โอ้ เมืองไทยยุคนี้ เกิดอะไรขึ้น ใครหนอใครมาจี้ DSI ไอดอลของผม ให้มาจี้มหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้สึกพระที่ดีอย่างหลวงพ่อธัมมชโย?  โดยสร้างคดีให้ท่านว่า ยักยอกเงินและที่ดินของวัดพระธรรมกาย

ถ้ายักยอกเงินและที่ดินของวัด เจ้าทุกข์ก็ต้องเป็นวัด วัดก็ต้องฟ้องสิครับ วัดมีกรรมการวัดนะครับ หรือมีใครอื่นเป็นเจ้าทุกข์เหรอครับ? ทุกข์ตรงใหนครับ?

หลวงพ่อธัมมชโยท่านสละทางโลกกล้าบวชเป็นพระตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัย (หายากที่จะมีคนหนุ่มอนาคตทางโลกไกลทำได้อย่างนี้) ท่านเป็นผู้ที่เริ่มสร้างวัดนี้ และอุปถัมภ์พัฒนาวัด จนเจริญรุ่งเรืองเป็นวัดพระธรรมกายในปัจจุบัน มีผู้คนนับแสนนับล้านที่เป็นคนดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นี่   จะมาใช้อำนาจจัดการให้พระที่ดีสึก มันถูกต้องหรือครับ? 

คดีจบไปตั้งแต่ปีมะโว้ กฎหมายทางพระก็ตัดสินแล้ว กฎหมายทางโลกก็ตัดสินแล้วว่าไม่ผิด ก็ยังขุดมาสร้างประเด็นให้สังคมไทยปั่นป่วน คนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็รุมด่าว่าพระทางอินเตอร์เน็ต บาปกรรมจริงๆ  ..และขอถามอีกนิด ที่ทำกันอยู่นี่ คิดว่าประเทศไทยจะพัฒนาขึ้นหรือครับ?

ท. ท่าพระจันทร์
โครงการด้านสาธารณประโยชน์ดำ ริโดย หลวงพ่อธัมมชโย วัดพระธรรมกาย

โครงการด้านสาธารณประโยชน์ดำ ริโดย หลวงพ่อธัมมชโย วัดพระธรรมกาย

ว่างๆ จะมาลงรูปให้ด้วยนะค่ะ

โครงการด้านสาธารณประโยชน์ดำ ริโดย หลวงพ่อธัมมชโย วัดพระธรรมกาย 

1. ปี 2530 - ปัจจุบัน จัด โครงการมุทิตาสักการะพระภิกษุสามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยค ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี จัดมาแล้ว 28 ครั้ง โดยมีพระเปรียญธรรม 9 ประโยค ร่วมรับถวายมุทิตา จำนวน 1,207 รูป

2. ปี 2541 ก่อตั้ง หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยชมรมรัตนเวชในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพพระภิกษุสามเณร

3. ปี 2545 – ปัจจุบัน จัดโครงการถวายมหาสังฆทานวัดทั่วประเทศ โดยมีจุดเริ่มต้นจากจำนวน 1,000 วัด, 2,000 วัด, 3,000 วัด, 5,000 วัด, 10,000 วัด, 20,000 วัด และ 30,000 วัด ทั่วประเทศ และจัดอย่างต่อเนื่องในวันที่ 22 เมษายน ของทุกปี รวมแล้ว 12 ปี แล้ว จัดถวายสำรับไทยธรรมแด่คณะสงฆ์แล้วกว่า 220,000 ชุด

4. ปี 2545 – 2549 จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยชมรมรัตนเวชในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี ร่วมกับพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ออกหน่วยทุก 3 เดือน ดูแลตรวจรักษาและคัดกรองสุขภาพพระภิกษุสามเณร กว่า 3,500 รูป ใน 5 จังหวัดได้แก่ จ.กาญจนบุรี ชลบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และสุพรรณบุรี

5. ปี 2545 – 2551 จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยชมรมรัตนเวชในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี ตรวจรักษาผู้ป่วยชาวดอยผู้ยากไร้ กว่า 3,000 คน ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จ.เชียงใหม่, เชียงราย และแม่ฮ่องสอน

6. ปี 2546 จัดโครงการเทเหล้า-เผาบุหรี่ สร้างเสริมสุขภาพ และความเข้มแข็งด้านศีลธรรมแก่ประชาชน กว่า 1,000 ครั้ง

7. ปี 2546 – ปัจจุบัน จัดโครงการถวายทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนบาลีทั่วประเทศ จัดมาแล้ว 12 ครั้ง โดยมอบทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนที่สอบได้สูงสุดในแต่ละประเภท รวมมอบทุนการศึกษา ปีละกว่า 4,000,000 บาท

8. ปี 2547 – 2548 จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยชมรมรัตนเวชในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี ช่วยเหลือดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยสึนามิ ในจ. ภูเก็ต กว่า 1,000 คน

9. ปี 2548 วันที่ 5 มกราคม จัดโครงการบำเพ็ญกุศลแก่ผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติ (สึนามิ) ที่จังหวัดภูเก็ต ที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

10. ปี 2548 วันที่ 19 มกราคม จัดมอบเครื่องอุปโภค-บริโภคแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติ (สึนามิ) ที่จังหวัดภูเก็ต รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท

11. ปี 2548-ปัจจุบัน จัดโครงการพุทธบุตรเป็นหนึ่งเดียวกัน ถวายสังฆทาน 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดต่อเนื่องมา 12 ปี 119 ครั้ง รวมมูลค่ากว่า 240 ล้านบาท

12. ปี 2549 โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และพื้นที่ภาคกลางเกือบทุกจังหวัด

13. ปี 2549 จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยชมรมรัตนเวชในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี ตรวจสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี, อ่างทอง, ปทุมธานี, สิงห์บุรี และ อยุธยา รวมกว่า 1,500 คน

14. ปี 2549- 2552 จัดโครงการทอดผ้าป่าช่วยเหลือวัดที่ประสบอุทกภัย 3,000 วัด ใน 16 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา, นนทบุรี, ปทุมธานี, อ่างทอง, สิงห์บุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี, สุพรรณบุรี, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, นครปฐม และมอบเครื่องอุปโภค-บริโภคแก่ประชาชนผู้ประสบภัย รวมมูลค่า 16 ล้านบาท

15. ปี 2550 วันที่ 9 พฤศจิกายน จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย ในสหรัฐอเมริกา

16. ปี 2550 – ปัจจุบัน จัดโครงการมอบทุนเยาวชนผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมโลก ในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี ปีละ 100,000 ทุน จัดมาแล้ว 9 ครั้ง รวมจำนวนเงิน 50 ล้านบาท

17. ปี 2551 วันที่ 1 เมษายน จัดโครงการสนับสนุนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ร่วมบริจาคเงินจำนวน 27 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงอาคารผู้ป่วยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

18. ปี 2551 โครงการช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยไซโคลนนากีส ประเทศสหภาพพม่า ระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551

19. ปี 2551-ปัจจุบัน ริเริ่ม โครงการตักบาตรพระ 5 แสนรูป, 1 ล้านรูป, 2 ล้านรูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย จัดครั้งแรกที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อจัดส่งข้าวสาร อาหารแห้ง ถวายพระภิกษุสามเณร และมอบแด่ทหาร ตำรวจ ครู นักเรียน และชาวบ้าน ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา รวมจัดตักบาตรมาแล้ว 623 ครั้ง จำนวนพระรับบาตรกว่า 1,488,000 รูป นำอาหารตักบาตรไปช่วยเหลือแล้วจำนวนกว่า 5,000 ตัน

20. ปี 2551-ปัจจุบัน จัดโครงการกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ โดยจัดมอบทุนให้กับครูอาจารย์ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้เป็นประจำทุกเดือน รวมมอบทุนไปแล้ว 30,000 กว่ากองทุน เป็นเงิน 60 กว่าล้านบาท จัดมาแล้ว 8 ปี รวม 82 ครั้ง

21. ปี 2553 จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยจัดมอบถุงยังชีพแก่วัดและประชาชนในพื้นที่ 20 จังหวัด รวมน้ำหนัก 80,000 กว่ากิโลกรัม

22. ปี 2554 วันที่ 17 มีนาคม ร่วมบริจาคเงินผ่านทางครอบครัวข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จำนวน 200,000 บาท ในโครงการมอบเงินช่วยผู้ประสบภัยสึนามิประเทศญี่ปุ่น

23. ปี 2554 วันที่ 23 เมษายน จัดโครงการรวมใจไทยญี่ปุ่น อุทิศแด่ชาวญี่ปุ่นผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและสึนามิประเทศญี่ปุ่น รวมใจไทยญี่ปุ่น เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ชาวญี่ปุ่นผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและสึนามิ

24. ปี 2554 จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นทีภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 30 จังหวัด

25. ปี 2554 จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยชมรมรัตนเวชในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี ตรวจสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, สิงห์บุรี และอ่างทอง รวม 1,000 กว่าคน

26. ปี 2555 วันที่ 9 มิถุนายน ผู้แทนวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย เข้าเยี่ยมพระภิกษุ เจ้าหน้าที่และชาวบ้าน พร้อมมอบปัจจัยช่วยเหลือเป็นกำลังใจ แก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดรุ่นแรงในจังหวัดปัตตานี ณ โรงพยาบาลปัตตานี

27. ปี 2555 – ปัจจุบัน ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยชมรมรัตนเวชในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี ดูแลพุทธบุตรธรรมยาตรา และสาธุชนที่มาร่วมงาน ทุกปี ปีละกว่า 10,000 คน

28. ปี 2556 จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และขอนแก่น รวม 9,000 กว่าครอบครัว

29. ปี 2556 จัดโครงการช่วยผู้ประสบภัยจากไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ประเทศฟิลิปปินส์ โดยบริจาคเงินจำนวน 100,000 เปโซ

30. ปี 2556 วันที่ 24 พฤศจิกายน จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ร่วมกับคณะแพทย์และพยาบาลจากมหาวิทยาลัยเวส วิซาย่าส สเตท (West Visayas State University) เพื่อช่วยตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัยจากไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ประเทศฟิลิปปินส์

31. ปี 2557 วันที่ 21 ตุลาคม จัดโครงการช่วยเหลือคณะสงฆ์บนยอดดอย เพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง ณ บ้านแม่สลิดหลวง ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

32. ปี 2557 โครงการมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย ใน 3 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี, น่าน และอุบลราชธานี รวมจำนวน 2,503 ชุด

33. ปี 2558 จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบแผ่นดินไหวในประเทศเนปาล ระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 6 พฤษภาคม รวมมูลค่าความช่วยเหลือ 2.7 ล้านบาท

34. ปี 2558 วันที่ 8 พฤษภาคม จัดโครงการช่วยผู้ประสบอัคคีภัย เมืองทวาย ประเทศเมียนมา รวมมูลค่า 100,000 จ๊าด

35. ปี 2558 วันที่ 6 – 7 สิงหาคม จัดมอบถุงยังชีพ จำนวน 1,000 กว่าชุด รวมถึงข้าวสารอาหารแห้ง น้ำดื่ม ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย เมืองมัณฑะเลย์ และสะกาย ประเทศเมียนมา

36. ปี 2558 วันที่ 20 สิงหาคม จัดมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 400 ครอบครัว ณ วัดอะมิงกะลาชโย รัฐพะโค ประเทศเมียนมา

37. ปี 2558 วันที่ 23 สิงหาคม ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ เมืองกาเล มณฑลสกาย ประเทศเมียนมา โดยมอบเงิน 5 ล้านจั๊ต เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย พร้อมมอบถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง เสื่อผ้า แก่ผู้ประสบภัย

38. ปี 2558 วันที่ 12 กันยายน จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่อำเภอทสึคุบะ จังหวัดอิบาราขิ

39. ปี 2558 วันที่ 14 กันยายน จัดโครงการถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน และ ปัจจัยไทยธรรม แด่พระสงฆ์ 700 รูป โดยทั้งหมดเป็นเจ้าอาวาสใน 680 วัดของเมืองทวาย ประเทศเมียนมา

40. ปี 2558 วันที่ 20 กันยายน จัดโครงการตักบาตรพระ 10,000 รูป เชื่อมสัมพันธ์ เมียนมา – ไทย ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา

41. ปี 2558 วันที่ 14 ตุลาคม โครงการถวายมหาสังฆทาน 50 วัด กรุงพนมเปญ และจังหวัดกัมปงจาม ราชอาณาจักรกัมพูชา ณ วัดสุวรรณรังษี อ.กังเมียส จ.กัมปงจาม

42. ปี 2559 จัดอบรมเยาวชน ระหว่างวันที่ 8-22 พฤศจิกายน ในโครงการบวชสามเณรแก้ว สามเณรแท้ 300 รูป เมืองทวาย ประเทศเมียนมา

43. ปี 2559 วันที่ 7 มกราคม จัดโครงการมอบของขวัญวันเด็กแก่โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ใน               จังหวัดปทุมธานีและใกล้เคียง รวมกว่า 100 แห่ง จำนวนสิ่งของ 153,000 กว่าชิ้น

44. ปี 2559 วันที่ 28 มกราคม จัดมอบผ้าห่มกันหนาว และเครื่องนุ่งห่มกันหนาว จำนวน 500 ชุด อ.ภูเรือ จ.เลย