ผลงานของวัดพระธรรมกาย ตอน สร้างพระให้เป็นพระแท้

วันนี้มาดูผลงานของวัดกันบ้าง 

ผลงานของวัดพระธรรมกายตลอดระยะเวลา 45 ปี (2558) ที่ผ่านมา
ตอน สร้างพระให้เป็นพระแท้

ตลอดระยะเวลา 45 ปี (2558) ที่ผ่านมา วัดพระธรรมกายได้สร้างวัดไปพร้อมๆ กับการสร้างคน คือ สร้างพระภิกษุให้เป็นพระแท้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา รวมทั้งปลูกฝังศีลธรรมลงในใจของผู้คนทุกเพศทุกวัยด้วยการจัดโครงการอบรมศีลธรรมขึ้น ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวความคิดเมื่อแรกเริ่มสร้างวัด คือ จะสร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ และสร้างคนให้เป็นคนดี



สร้างพระให้เป็นพระแท้
 
โครงการมุทิตาสักการะพระภิกษุสามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยค

วัดพระรรมกายได้จัดพิธีมุฑิตาสักการะเปรียญธรรม 9 ประโยคทุกปี  
 
   โครงการนี้จัดต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่พ.ศ.2531 - 2558 มีจำนวนพระภิกษุสามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยคที่เข้าร่วมงานมุทิตาสักการะรวมแล้วนับพันรูป

 
โครงการมอบทุนการศึกษาธรรมะแด่พระภิกษุสามเณร จำนวน 100,000 รูป และโครงการสอบตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า “พระแท้”

โครงการมอบทุนการศึกษาแด่พระภิกษุสามเณรโดยวัดพระธรรมกาย
 
     โครงการนี้จัดขึ้น ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2542 และครั้งที่ 2 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2544 รวมจำนวนพระภิกษุเข้าสอบกว่า 200,000 รูป

 
โครงการอบรมสัมมนาพระกัลยาณมิตร 

โครงการพระกัลยาณมิตร
 
     เริ่มโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) มีพระภิกษุจากทั่วประเทศผ่านการอบรมในโครงการนี้เป็นจำนวนหนึ่งหมื่นกว่ารูป
 

โครงการถวายมหาสังฆทาน 1,000 วัด 2,000 วัด 3,000 วัด 10,000 วัด 20,000 วัด และ 30,000 วัด

โครงการถวายมหาสังฆทาน ณ วัดพระธรรมกาย
 
     เริ่มโครงการเมื่อ พ.ศ. 2545 และจัดอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้การสนับสนุนในเรื่องปัจจัยไทยธรรมแก่พระภิกษุสามเณร และเพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้สร้างมหาทานบารมีกับพระภิกษุทั่วทั้งสังฆมณฑล
 
โครงการถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด และทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์ ในเหตุการณ์ความไม่สงบใน 4 จังหวัดภาคใต้ 

โครงการถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ใน 4 จังหวัดภาคใต้
 
     ให้การสนับสนุนพระภิกษุสามเณรที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 4 จังหวัดภาคใต้ โครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 และจัดเป็นประจำทุกเดือนจนถึงปัจจุบันโดยไม่ขาดเลยแม้แต่เดือนเดียว รวมเป็นเวลาเกือบ 7 ปีแล้ว และจะจัดตลอดไปจนกว่าเหตุการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้เพื่อถวายกำลังใจให้พุทธบุตรทุกรูปสามารถยืนหยัดเป็นพระแท้ดูแลรักษาพระพุทธศาสนาได้ตลอดไป

โครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลกสำหรับบรรพชิต หรือ World-PEC for Monk
 
โครงการตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลกสำหรับบรรพชิต
 
     จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อส่งเสริมให้พระภิกษุเกิดการตื่นตัวในการศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อนำไปใช้ฝึกฝนตนเองให้เป็นพระแท้ที่สมบูรณ์ และปลูกฝังให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำสันติภาพโลก ด้วยการทำหน้าที่เผยแผ่พระธรรมคำสอน และเป็นต้นแบบทางศีลธรรมให้ชาวโลกได้ปฏิบัติตามเพื่อความสงบร่มเย็นของโลกสืบไป World-PEC สำหรับบรรพชิต ครั้งที่ 1 มีพระภิกษุ สามเณร สมัครเข้าสอบเป็นทีม ทีมละ 3 รูป เข้าสอบประมาณ 30,000 ทีม หรือประมาณแสนรูป

โครงการถวายพระพุทธรูป จำนวน 222 องค์ แด่วัดต่าง ๆ ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา 
 
 มอบพระพุทธรูป 222 องค์แด่ประเทศศรีลังกา
 
     พระพุทธรูปองค์แรกมอบแด่ประธานาธิบดีมหินทา ราชปักษี อีก 221 องค์ นำไปถวายวัดต่าง ๆ ในประเทศศรีลังกา เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกาให้รุ่งเรือง ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาได้จัดพิธีเฉลิมฉลองพระประธาน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ณ เมืองมาตะเล ต่อมา ในวันมาฆบูชาที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 นายกรัฐมนตรีรัตนสิริ วิกรามานายาเก แห่งศรีลังกาได้เดินทางมาวัดพระธรรมกาย เพื่อถวายโล่ขอบคุณแด่หลวงพ่อธัมมชโย
 
โครงการทอดกฐินตกค้างทุกวัดทั่วประเทศไทย 
โครงการทอดกฐินตกค้างโดยเด็กดี V-Star
 
     โครงการทอดกฐินตกค้างทุกวัดทั่วประเทศไทย (กฐินสัมฤทธิ์) เป็นโครงการที่สนับสนุนให้เด็กดี V-Star ทำหน้าที่เป็นประธานกฐินไปทอดตามวัดต่าง ๆ ที่มีกฐินตกค้างทั่วประเทศ เพื่อให้ปรากฏการณ์กฐินตกค้างหมดสิ้นไป ซึ่งจะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พระภิกษุ สามเณร และรักษาวัดให้รอดพ้นจากการเป็นวัดร้าง กลับกลายเป็นวัดรุ่งเพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองทางศีลธรรมกลับมาสู่แผ่นดินไทย โครงการนี้จัดขึ้นครั้งแรกที่วัดหนองเครือตาปา จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
 
โครงการอุปสมบทหมู่ 7,000 รูป 7,000 ตำบลทั่วไทย

 
โครงการอุปสมบทหมู่ 7,000 รูป ณ วัดพระธรรมกาย
 
     จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม ถึง 11 กันยายน พ.ศ.2552 เพื่อฟื้นฟูประเพณีการบวชให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่ง และสร้างศาสนทายาทสืบทอดอายุพระศาสนา โครงการบวชครั้งนี้ มีผู้บวชเกินเป้าที่ตั้งไว้ คือ 10,685 รูป หลังจบโครงการพุทธบุตรหลายรูปเกิดกุศล ศรัทธาอยู่ในเพศสมณะต่อไป และแยกย้ายกันไปช่วยพัฒนาวัดร้างในชุมชนต่าง ๆ ให้หวนกลับคืนมาเป็นวัดรุ่ง ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายอันดียิ่งแห่งการเริ่มต้นยุคทองของพระพุทธศาสนาบนผืนแผ่นดินไทย

โครงการอุปสมบทหมู่ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย

โครงการอุปสมบทหมู่ 100,000 รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย
 
     จัดขึ้นร่วมกับคณะสงฆ์ทั้งแผ่นดินและคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยองค์กรต่าง ๆ กว่า 25 องค์กร เพื่อสืบสานความสำเร็จต่อจากโครงการอุปสมบท 7,000 รูป 7,000 ตำบลทั่วไทย โครงการนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 มกราคม – 8 มีนาคม พ.ศ. 2553 โดยมีพิธีบรรพชาร่วมกันที่วัดพระธรรมกาย แต่ไปอบรมและอุปสมบท ณ วัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ การบวชครั้งนี้ มีจำนวนผู้บวชทำลายสถิติการบวชทุกครั้งที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ชาติไทย และที่สำคัญมีพระภิกษุจำนวนมากเกิดกุศลศรัทธาบวชต่อเพื่อเป็นพระแท้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา นับเป็นโครงการที่สร้างพระภิกษุให้เกิดขึ้นในสังฆมณฑลได้เป็นจำนวนมาก
 
โครงการตักบาตรพระ 500,000 รูป 76 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป และโครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย

 
โครงการตักบาตรพระ ๑,๐๐๐,๐๐๐ รูป ๗๖ จังหวัดทุกวัดทั่วไทย
 
     โครงการนี้นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูศีลธรรมและประเพณีตักบาตรให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองดังเช่นในอดีตแล้ว ยังเป็นการรวมพลังชาวพุทธส่งกำลังใจและความช่วยเหลือแก่พระภิกษุ สามเณร 266 วัด ใน 4 จังหวัดภาคใต้ ที่ไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ รวมทั้งพระภิกษุ สามเณร และชาวพุทธ ที่ประสบภัยต่าง ๆ เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยหนาวภัยแล้งต่าง ๆ เพื่อให้พุทธบุตรทั่วประเทศมีกำลังใจที่จะยืนหยัดดำรงอยู่ในสมณเพศ เป็นพระแท้สืบทอดพระพุทธศาสนาสืบไป โครงการนี้ ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และจัดต่อเนื่องมาจนครบทั้ง 76 จังหวัด และในอนาคตจะมีโครงการตักบาตร 10,000,000 ล้านรูปต่อไป


Share this

Related Posts

Previous
Next Post »